วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมสัตว์

 ประเภทพฤติกรรมของสัตว์

...............พฤติกรรมของสัตว์เป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่หน่อยพันธุกรรมจะควบคุมระดับการเจริญของส่วนต่างๆ ของสัตว์ เช่นระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ และอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดพฤติกรรมขณะที่สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่สัตว์ได้รับในภายหลังทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้มาหบ้างน้อยบาง เป็ฯการยากที่จะตัดสินว่าพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่ากัน อิทธิพลของพันธุกรรมจะเห็ฯได้ชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำมากกว่าสัตว์ชั้นสูง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการจะศึกษาพื้นฐานทางธรรมชาติที่แท้จริงของพฤติกรรมจึงนิยมศึกษาในสัตว์ชั้นต่ำ
...............
โดยทั่วไปแล้วการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติมักเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการอยู่รอด ตลอดจนเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง พฤติกรรมที่ถูกจัดว่ามีแบบแผนที่ง่ายที่สุดและทำให้สัตว์อยู่รอดได้คือการหลีกเลี่ยงที่จะถูกฆ่า ดังนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหลบหลีกหนีศัตรูจึงแสดงออกได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีเพื่อง่ายแก่การศึกษาและทำความเข้าใจในที่นี้จะแบ่งประเภทของพฤติกรรมออกเป็น 2 แบบคือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด และ 2.พฤติกรรมการเรียนรู้


1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด
...............เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ และเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงของฤดูกาล จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวเพื่อปรับตำแหน่งให้อยู่ในสถาพที่เหมาะสม หรือหลีกเลี่ยงสถาพที่ไม่เหมาะสม ควาสามารถในการแสดงพฤติกรรมนี้ได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น โดยไม่จำเปนต้องเรียนรู้มาก่อน จึงมักมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ได้แก่

รีเฟล็กซ์
...............เราคงเคยเดินหยีบหนาม หรือของมีคม พฤติกรรมที่แสดงออกมา คือ ยกเท้าหนีทันที หรือเมื่อมีสิ่งขงเข้ามาใกล้ตา ตาก็จะกระพริบ เราต้งอคิดก่อนหรือไม่ การแสดงกิริยาดังกล่าวเป็นปฎิกริยารีเฟล็กซ์ปฎิกริยานี้ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงออกอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ทันที พฤติกรรมที่แสดงออกมาด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็วเรียกว่า พฤติกรรมรีเฟล็กซ์...............สิ่งมีชีวิตเซล์เดียวและสัตว์ชั้นต่ำ ระบบประสาทยังไม่เจริญดีหรือในโพรทิสซึ่งไม่มีระบบประสาท สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถาวะแวดล้อมโดยแสดงพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์กล่าวคือ เป็ฯไปในลักษณะกระตุ้นและตอบสนองนั่นเอง เช่น พฤติกรรมที่เรียกว่า โอเรียนเตชัน (orientation) ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่สัตว์ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพทำให้เกิดการวางตัวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น ปลาว่ายน้ำในลักษณะที่ตั้งฉากกับแสงอาทิตบ์ทำให้ศัตรูที่อยู่ในระดับต่ำกว่ามองไม่เห็นนั้นจึงเป็นการหลีกเลี่ยงศัตรูวิธีหนึ่ง นอกจากนี้พฤติกรรมแบบโอเรียนเตชันยังจะทำให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์ในบริเวณที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์นั้นๆ อีกด้วยทำให้เราสามารถพบสัตว์ต่างๆในต่างบริเวณ...............ยังมีการศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นๆของพารามีเซียมอีก คือ การทดลองปล่อยแก้สคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำบนสไลด์ที่มีพารามีเซียม พบว่าพารามีเซียมจะถอยห่างออกจากฟองแก้สคาร์บอนไดออกไซด์โดยเบี่ยงตัวด้านท้ายของลำตัวไปเล้กน้อยแล้วจึงค่อยเคลื่อนที่ต่อไปอีกข้างหน้า ถ้าพบฟองแก้สคาร์บอนไดออกไซด์อีกพารามีเซียมก็จะถอยหนีไปในลักษณะเดิมเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพ้นจากฟองแก้สคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุยหนึ่งคือ อุณหถูมิ ถ้าพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงมันจะถอยหลังกลับโดยการกลับโดยอาจขยับส่วนท้ายของเซลล์ไปจากตำแหน่งเดิมเล้กน้อย แล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในทิศทางที่เปลี่ยนไป มันจะทำเช่นนี้จนกว่าจะพบตำแหน่งที่อุณหภูมิเหมาะสมดังรูป จะเห็ฯว่าทิศทางที่พารางมีเซียมเคลื่อนที่ไปแต่ละครั้งเพื่อหลบจากสิ่งเร้า มิได้สัมพันธ์กับทิสทางของสิ่งเร้าเลย จึงจัดได้ว่าไม่มีทิศทางที่แน่นอนเรียกพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่แบบมีทิศทางไม่แน่นอนว่า ไคนีซิส (kinesis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโอเรียนเตชัน พฤติกรรมนี้มักพบในโพรโทซัวหรือสัตว์ที่มีกระดูสันหลังชั้นต่ำที่ระบบประสาทไม่เจริญดี หน่อยรับความรู้สึกดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่ไกลๆจะมีการตอบสนองโดยเคลื่อนที่หาหรืออกจากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ๆเท่านั้น ...............พฤติกรรมไคนีซิสที่พบในสัตว์ชั้นต่ำเช่น แมลงสาบ ถ้านักเรียนเคยสังเกตการเคลื่อนที่ของแมลงสาบจะพบว่าเมื่ออยู่ในที่โล่ง มันจะวิ่งไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวของร่างกายไม่สัมผัสกับของแข็ง แต่เมื่อเคลื่อนที่ไปโดนหรือสัมผัสของแข็ง เช่นขอบตู้ แมงสาบจะอยู่นิ่ง...............ลักษณะการเคลื่อนที่ของแมลงสาบในที่โล่งไม่สัมผัสกับของแข็ง หรือการเคลื่อนที่ของพารามีเซียมที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิล้วนเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมการเคลื่อนที่แบบมีทิศทางไม่แน่นอน หรือทิศทางการเคลื่อนที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า



รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
...............
นักเรียนลองพิจารณาการดูดน้ำนมของเด็กอ่อนที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้นจากสิ่งเร้าคือ ความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม เป็นการกระตุ้นให้เด็กดูดนม และจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ เมื่อเด็กยังไม่อิ่มก็จะกระตุ้นให้ดูดต่อไปอีกเด็กจึงแสดงพฤติกรรมการดูดนมต่อไปจนอิ่มจึงหยุดพฤติกรรมย่อย ๆซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไปกระตุ้น รีเฟล็กซ์อื่น ๆ ของระบบประสาทให้ทำงานต่อเนื่องกัน เรียกพฤติกรรมประเภทนี้ว่า รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง



การสร้างรังของนกก็เช่นเดียวกันประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยหลายพฤติกรรม เช่น การบินออกไปหาวัสดุมาสร้าวรัง เมื่อพบจะจิกขึ้นมาตรวจสอบว่าเป็นวัสดุที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นจะนำวัสดุนั้นมาที่รัง และพยายามนำวัสดุดังกล่าวประกอบเป็นรัง เสร็จแล้วก็จะบินออกไปหาวัสดุชิ้นใหม่ต่อไป วงจรนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รังที่สมบูรณ์ ตัวอย่างอื่น ๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ เช่น การชักใยของแมงมุม การฟักไข่และการเลี้ยงลูกอ่อนของไก่...............พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ และรีเฟล็กซ์ต่อเนื่องเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งสามารถแสดงได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน และการกระตุ้นที่เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยสิ่งเร้าที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ เช่น ปัจจัยทางกายภาพ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมบางอย่างจะแสดงออกต่อเมื่อมีความพร้อมทางกายเสียก่อน เช่น การบินของนก นกแรกเกิดไม่สามารถบินได้ จนกว่าเติบโตแข็งแรง จึงพร้อมจะบินได้ เป็นต้น...............พฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวออย่างเช่น เมื่อนำแมลงปอมาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำแมลงชนิดหนึ่งเรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฎว่าคางคกไม่กินแมลลงรอบเบอร์และผึ้งอีกเลย 



...............การที่คางคกใช้ลิ้นตวัดจับแมลงกินเป็นอาหาร เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ส่วนการที่คางคกไม่กินผึ้งและแมลงที่มีลักษณะคล้ายผึ้งเนื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับ พฤติกรรมที่อาศัยประสบการณ์นี้เรียกว่า พฤติกรรมการเรียนรู้

พฤติกรรมการเรียนรู้
...............เป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี สัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงสามารถมีพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ดังนี้

แบบแฮบิชูเอชัน
...............ถ้านักเรียนทดลองนำหอยทากมาไต่บนแผ่นกระจก แล้วเคาะที่กระจก หอยทากจะหยุดการเคลื่อนที่ และหลบซ่อนเข้าไปในเปลือก สักครู่หนึ่งจะโผล่ออกมาและไต่ตามแผ่นกระจกต่อไป เมื่อเคาะอีก ก็จะหลบเข้าไปอีก แต่ถ้าเคาะกระจกบ่อย ๆ ครั้ง จะพบว่าระยะเวลาที่หอยทากหลบเข้าไปในเปลือกจะค่อย ๆ สั้นลงในที่สุดจะไต่ตามแผ่นกระจกไปเรื่อยโดยไม่สนใจเสียงเคาะกระจกอีกต่อไป...............ในธรรมชาติก็เช่นเดียวกันลูกสัตว์ทุกชนิดจะกลัวและหนีสิ่งแปลกใหม่ เช่น ลูกนกแรกเกิดจะตกใจกลัวนกทุกชนิดที่บินผ่านมาเหนือรัง หรือแม้แต่ใบไม้ที่ร่วงลงมา เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้ง ลูกนกจะเกิดการเรียนรู้ทำให่ลูกนกลดพฤติกรรมนี้ลงไป เรียกพฤติกรรมดังกล่าวนี้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้น ๆ ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต

การฝังใจ
...............พ.ศ. 2478 ดร.คอนราด ลอเรนซ์ (Konrad Lorenz) สังเกตว่าธรรมชาติ ลูกห่านจะเดินตามแม่ทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ แต่ถาฟักไข่ในห้องปฏิบัติการ เมื่อลูกห่านพบเขาเป็นสิ่งแรก มันจะติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง
เมื่อเขาใช้วัตถุอื่นแทนตัวเขา เช่น กล่องสี่เหลี่ยมที่มีล้อเลื่อนหรือหุ่นเป็ดที่มีล้อเลื่อนลูกห่านที่ฟักออกจากไข่เมื่อเห็นวัตถุดังกล่าวก็จะเดินตามเช่นเดียวกัน เรียกพฤติกรรมของสัตว์ที่ติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่และทำเสียง ซึ่งเห็นในครั้งแรกหลังจากฟักจากไข่ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (imprinting) พฤติกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นมากคือ ระยะเวลา 36 ชั่วโมง หลังจากฟักออกจากไข่ของห่าน ในธรรมชาตินั้นวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ ทำเสียงได้ของลูกห่านคือแม่นั่นเองทำให้เกิดความผูกพันกับแม่

การลองผิดลองถูก
...............การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมของสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ไส้เดือนดินเพื่อดูพฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำไปใส่กล่องพลาสติกรูปตัว T มีด้านหนึ่งมืดและชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ปรากฏว่าเมื่อทำการทดลองซ้ำ ๆ กันไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วจะเลือกทางถูก คือเคลื่อนที่ไปทางมืดและชื้นประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึก โอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกทางถูก หรือผิดร้อยละ 50 เท่านั้น

จะเห็นได้ว่า การลองผิดลองถูก (trail and error)เป็นพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการทดลองซ้ำ ๆ จนมีประสบการณ์ว่าการกระทำแบบใดจะเกิดผลดี แบบใดจะเกิดผลเสีย แล้วเลือกกระทำแต่สิ่งที่เกิดผลดี หรือให้ประโยชน์ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โทษ

การมีเงื่อนไข
...............การศึกษาทดลองของอีวาน พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวรัสเซีย ประมาณปี พ.ศ.2400 เขาได้ทำการทดลอง

พาฟลอฟพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้ สิ่งเร้าคืออาหารซึ่งเป็น สิ่งเร้าแท้จริง หรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข(unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus
การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงแม้ว่าจะไม่มีสิ่งเร้าที่แท้จริงอยู่ด้วย ลำพังสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงเพียงอย่างเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นตอบสนองได้เช่นเดียวกับกรณีที่มีสิ่งเร้าแท้จริงอย่างเดียว พาฟลอฟเรียกพฤติกรรมนี้ว่าการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข(conditioning)...............นักพฤติกรรมพบว่า พฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขสามารถพบได้ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

การใช้เหตุผล
...............ชิมแปนซีเป็นสัตว์ทดลองที่ดีสำหรับการแสดงความสามารถในการแก้ปัญหา เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วย

...............หากนำผลไม้ไปวางไว้ห่างจากกรง ชิมแปนซีจะนำไม้มาต่อกันเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เขี่ยของที่อยู่ห่างจากกรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น